หน้าเว็บ

เป้าหมายหลัก

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พัฒนาครูใหม่ด้วยจิตศึกษา : 9-10 ธันวาคม 2559

อบรมพัฒนาครูด้วยจิตศึกษา
ในโครงการงอกนอกกะลา
ระหว่างวันที่ -10 เดือนธันวาคม 2559

            ตามที่โครงการ “ งอกนอกกะลา ”โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้พัฒนาโรงเรียนในโครงการงอกนอกกะลา จ.ศรีสะเกษ ในการพัฒนาผู้เรียนทั้งปัญญาภายในและปัญญาภายนอก เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็น ต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในอนาคต โรงเรียนในโครงการฯ ได้นำนวัตกรรมทั้ง 3 นวัตกรรม ได้แก่ จิตศึกษา PBL และ PLC ไปใช้ แล้ว  1 ปีการศึกษา มีพัฒนาการและความงอกงามเกิดขึ้น แต่เนื่องจากมีคุณครูบรรจุใหม่และครูที่สนใจ เพิ่มทักษะในด้านพัฒนาปัญญาภายในด้วยจิตศึกษา โครงการฯ จึงเห็นความสำคัญที่ครูบรรจุใหม่และครูที่สนใจของ โรงเรียนงอกนอกกะลา ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในด้านพัฒนาปัญญาภายในและสามารถออกแบบการจัด กิจกรรมจิตศึกษาได้

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความเข้าใจและออกแบบการจัดกิจกรรมจิตศึกษาได้

กลุ่มเป้าหมาย   
ครูใหม่และครูในโรงเรียนเครือข่าย “งอกนอกกะลา”       จำนวน  15       คน

ระยะเวลา  :  
            หลักสูตร  2 วัน               สถานที่  สำนักงานโครงการงอกนอกกะลาจังหวัดศรีสะเกษ






ลำดับที่
ชื่อ - สกุล
โรงเรียน
1
นางสาวณัฐวรา  ไตรภพ
โรงเรียนบ้านนตะเคียนราม
2
นางสาวนาฏวรดา  คำเคน
โรงเรียนบ้านนตะเคียนราม
3
นางสาวดวงกมล  โสดาลี
โรงเรียนบ้านนตะเคียนราม
4
นางสาวบัวเรียน  จันพะงา
โรงเรียนบ้านนตะเคียนราม
5
นางสาววริศรา  พลภักดี
โรงเรียนบ้านนตะเคียนราม
6
นางสาวรัชดามาศ  ไชยทิพย์
โรงเรียนบ้านนตะเคียนราม
7
นางสาวจีระยา  แสนโคตร
โรงเรียนบ้านนตะเคียนราม
8
นางสาวกมลา  วงศ์เจริญ
โรงเรียนหนองอารีพิทยา
9
นางมะลิ  ศรีเลิศ
โรงเรียนบ้านโนนดั่ง
10
นายกรกฎ  โสภากุ
โรงเรียนบ้านโนนดั่ง
11
นายธวัชชัย  ปรือปรัง
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
12
นางสาวแสงเดือน  ศรีสิงห์
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
13
นางสาวพรวิมล  สุดสังข์
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Conference : โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้
วันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน 2559  ณ โรงเรียนบ้านตะเคียนราม สพป.ศรีสะเกษ เขต 3
ต. ตะเคียนราม อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างพลังครูและผู้บริหารของโรงเรียนต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ (Model school) และโรงเรียนเครือข่าย ให้มีเวทีนำเสนอความสำเร็จในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับผู้เรียนในมิติของปัญญาภายในและ ปัญญาภายนอก
2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ PLN (Professional Learning Network) ของโรงเรียนต้นแบบ สู่การปฏิรูปการศึกษาของประเทศ
3.เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ให้ครูและสังคมได้เข้าใจบทบาทใหม่ของครูมืออาชีพที่จะพัฒนาทักษะ ความรู้ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้และจิตวิญญาณความเป็นครูในศตวรรษที่ 21

กลุ่มเป้าหมายโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
            1. ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนโครงการ “งอกนอกกะลา” จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่
1.1 โรงเรียนตะเคียนราม สพป. ศรีสะเกษ เขต 3                              จำนวน 38 คน
1.2 โรงเรียนโนนดั่ง สพป. ศรีสะเกษเขต 3                                      จำนวน  8 คน
1.3 เรียนบ้านคลองเพชรสวาย สพป. ศรีสะเกษ เขต 3                       จำนวน  5 คน
1.4 โรงเรียนหนองอารีพิทยา  สพป. ศรีสะเกษ เขต 3                        จำนวน 15 คน
1.5 โรงเรียนบ้านนาขนวน สพป.ศรีสะเกษ เขต 4                             จำนวน 15 คน
1.7  โรงเรียนบ้านปะทาย สพป.ศรีสะเกษ เขต 4                               จำนวน 20 คน
1.7 โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ สพป. ศรีสะเกษ เขต 3             จำนวน 16 คน       2. ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนที่สนใจจาก สพป. ศรีสะเกษ เขต 3             จำนวน 30 โรงเรียน
3. ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนที่สนใจจาก สพป. ศรีสะเกษ เขต 4                 จำนวน 15 โรงเรียน      4. ผู้บริหารและครูโรงเรียนเครือข่าย โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา                      จำนวน 10 โรงเรียน

                        รวมจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 62 โรงเรียน                   จำนวน  400 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เกิดเครือข่ายพัฒนาโรงเรียนต้นแบบในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับผู้เรียนในมิติของปัญญาภายในและปัญญาภายนอก
2. เกิดเครือข่ายการเรียนรู้และเกิดการรับรู้ เกี่ยวกับโรงเรียนต้นแบบในระดับประเทศ
3. โรงเรียนต้นแบบได้ขยายผลเพื่อสร้างโรงเรียนเครือข่ายการเรียนรู้ PLN (Professional Learning Network)

ระยะเวลาดำเนินงาน
วันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน 2559
คณะทำงานของโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้
คณะผู้บริหาร ครูและบุคลากรโครงการงอกนอกกะลา โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

กำหนดการ : โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
วันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน 2559 ณ โรงเรียนบ้านตะเคียนราม สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 

วันเสาร์ที่ 26 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา
กิจกรรม
07.30-08.30น.
เยี่ยมชมวิถีโรงเรียนบ้านตะเคียนราม
08.00-08.30 น.
ลงทะเบียน
08.45-08.50น.
วีดีทัศน์ “เส้นทางการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (NNK)”
พิธีกร ครูศุภากร
09.00-10.15 น.
กล่าวเปิดงานและปาฐกถา  โดย นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
10.30-10.45น.
รับประทานอาหารว่างเช้า
10.45-12.00น.
เวทีเสวนา “การจัดการโรงเรียนเชิงระบบ”
1.     ผอ.สพป.ศก.เขต 3
2.     ผอ.สพป.ศก. เขต 4
3.     ผอ.สมศักดิ์  ประสาน
4.     ผอ.อำนวย  มีศรี
5.     ตัวแทนครู (ครูเกดแก้ว)
6.     ผู้ดำเนินรายการ ดร.ปิยาภรณ์  พุ่มแก้ว
12.00-12.40น.
รับประทานอาหารกลางวัน
12.40 – 13.00
Body scan /Brain Gym
13.00-15.00น.
ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ห้องปฏิบัติการที ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้บริหาร และนักการศึกษา (ผอ.สังคม ผอ.สุรพงษ์ ผอ.ประกอบ ผอ.สร้อยทิพย์ ผอ.รัตนา)
ห้องปฏิบัติการที่ 2 ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ปกครอง (ครูมาลา ครูสริตา ครูอาทิตย์)
กิจกรรม Workshop แบ่งตามห้องปฏิบัติการ ได้แก่
ห้องปฏิบัติการที่ 3 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายในด้วย จิตศึกษา” (อนุบาล - ป.1)
(ครูจุฬารัตน์ ครูสุดา ครูทรรศนีย์ ครูโนนดั่ง)
ห้องปฏิบัติการที่ 4 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายในด้วย จิตศึกษา” (ป.2-ป.6)
(ครูศุภากร ครูเกดแก้ว ครูปริยชาต ครูโนนดั่ง ครูสุนทร)
ห้องปฏิบัติการที่ 5 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายในด้วย จิตศึกษา” (ม.1-ม.3)
(ครูศนิษา ครูลัดดา ครูปัจจุปกร)
ห้องปฏิบัติการที่ 6 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายนอกด้วย “PBL” (อนุบาล)
(ครูวิภาวี ครูโสพิศ ครูสุวรรณา ครูสุรัตนา)
ห้องปฏิบัติการที่ 7 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายนอกด้วย “PBL” (ประถมศึกษา)
(ครูประเสริฐ ครูกัญญาภัค ครูอุรวี ครูวิจิตรา)
ห้องปฏิบัติการที่ 8 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายนอกด้วย “PBL” (มัธยมศึกษา)
(ครูเสก ครูนาวิท ครูวรวุฒิ ครูภัทรวดี ครูวาริกา)
ห้องปฏิบัติการที่ 9 การออกแบบการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรม (ประถมศึกษา)
(ครูปรีญานันท์ ครูตรีทิพย์ ครูวัชราภรณ์ ครูจิรัชยา)
ห้องปฏิบัติการที่ 10 การออกแบบการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรม (มัธยมศึกษา)
(ครูกิติยา ครูอรทัย ครูณัฐพร)
ห้องปฏิบัติการที่ 11 การออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดขั้นสูง (อนุบาล - ป.3) ครูเพ็ญประไพ  ครูทิพวรรณ ครูรจิรา ครูธวัลรัตน์
ห้องปฏิบัติการที่ 12 การออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดขั้นสูง
 ( ป.4-6) ครูสายฝน ครูวิลาวัลย์ ครูจันทราภรณ์ ครูพิศมัย 
ห้องปฏิบัติการที่ 13 การออกแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ แอพลิเคชัน
ครูดนิตา ครูธีรดา ครูกมลวรรณ ครูศิริวรรณ์
ห้องปฏิบัติการที่ 14 การออกแบบการเรียนรู้จิตศึกษาสำหรับองค์กร 
15.00–16.00 น.
AAR สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ (ภายในห้องที่เข้าร่วมกิจกรรม)



วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

PLC เตรียมงาน Conference : 12 พฤศจิกานยน 2559

วันที่ 12  พฤศจิกานยน 2559

โรงเรียนในโครงการงอกนอกกะลา ได้นัดคุยกันเตรียมงาน Conference ในวันที่ 26 พฤศจิกายน เพื่อเตรียมการต้อนรับผู้มาร่วมงานจากหลายโรงเรียน หลายจังหวัด โดยใช้ห้องนาฎศิลป์ โรงเรียนบ้านตะเคียนราม ในการแลกเปลี่ยนและออกแบบกิจกรรมร่วมกัน

ขอบคุณผู้บริหารและคณะคุณครูจากทุกโรงเรียน
#งอกนอกกะลาจังหวัดศรีสะเกษ
  1. โรงเรียนบ้านตะเคียนราม  สพป.ศก 3
  2. โรงเรียนบ้านคลองเพชรสวาย   สพป.ศก 3
  3. โรงเรียนบ้านปะทาย   สพป.ศก 4
  4. โรงเรียนบ้านนาขนวน   สพป.ศก 4
  5. โรงเรียนหนองอารีพิทยา   สพป.ศก 3
  6. โรงเรียนบ้านโนนดั่ง     สพป.ศก 3
  7. โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ     สพป.ศก 3









วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รู้จักตอบคำถามด้วยคำถาม

รู้จักตอบคำถามด้วยคำถาม

         เอ็กตอร์ เป็นนักจิตแพทย์ที่ดีที่สุดคนหนึ่ง เขามีคนไข้ที่มารักษาตัวกับเขาไม่น้อยเลยที่มาปรึกษากับเขา  บางคนก็หายในเวลาไม่นาน และบางคนดูเหมือนไม่มีอาการอะไรแต่พวกเขาไว้ใจเอ็กตอร์ ที่เอ็กตอร์ประสบความสมเร็จนั้นไม่ใช่เพราะรู้จักฟังเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะเขารู้เทคนิคต่างๆในอาชีพเขาด้วย
        ประการแรกเลยคือ เขารู้จักตอบคำถามด้วยคำถาม เช่นเมื่อมีคนถามว่า "คุณหมอคิดว่าผมจะหาทางออกได้ไหมครับ" เอ็กตอร์ก็ตอบว่า แล้วทางออกสำหรับคุณหมายความว่ายังไงล่ะครับ"  นั่นทำให้คนไข้ต้องคิดใคร่ครวญปัญหาตัวเอง วิธีนี้ทำให้เอ็กตอร์ช่วยหาทางออกให้พวกเขาได้
       ประการต่อมาคือ เอ็กตอร์รู้จักใช้ยาเป็นอย่างดี เช่นยาที่ใช้กินเมื่อเศร้าเกินไป ยาที่ใช้กินเมื่อกลัวเกินไป
      ประการสุดท้าย เมื่อยาไม่ได้ผล หรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยา นั่นคือจิตบำบัด มันเป้นคำที่ค่อนข้างเข้าใจยาก ความหมายง่ายๆ การช่วยคนด้วยการฟังและพูดกับพวกเขา ซึ่งจิตบำบัดคลายกับยาคือที่มีหลายประเภท บางประเภทคิดค้นโดยคนที่ตายไปนานแล้ว เอ็กตอร์เรียนจิตบำบัดแบบที่คนคิดค้นยังมีชีวิตอยู่ แต่ก็ค่อนข้างชรามากแล้ว  มันคือวิธีการที่จิตแพทย์พูดคุยกับคนไข้ และเป็นวิธีที่คนไข้ชอบมากเช่นกัน

#เอ็กตอร์ กับการตามหาความสุขที่หายไป

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

PBL planing Q3/59 ณ โรงเรียนบ้านตะเคียนราม

วันที่ 13-14 ต.ค. 2559
ออกแบบหน่วยการเรียนรู้วิชา PBL (วิชาบูรณาการ) และจิตศึกษากับปัญญาภายใน โดยมีโรงเรียนบ้านพรหมเจริญ เครือข่ายโรงเรียนงอกนอกกะลา มาร่วมออกแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน

เป้าหมายของวันแรกนั้นทำแผนการเรียนรู้ ให้เสร็จอย่างน้อย 5 Week
ผอ.อำนวยกล่าว ต้อนรับคุณครูทุกท่น

เข้ากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างช่วงชั้น
คุณครูเตรียมแผนการสอนมาล่วงหน้า
คุณครูชั้นป.3เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนร่วมกัน
คุณครูชั้นป.2 เริ่มทำแผนด้วยกัน
ครูป.4 เริ่มออกแบบแผนการสอน
Body scan แบบนั่ง (โดยครูไก่)
Brain gym หลังจาก Body scan
เริ่มนำแผนลง Google site
เป้าหมายของวันที่  2 ออกแแบหน่วยจิตศึกษา และนำเสนอแผนการเรียนรู้


ครูยุ้ยพาทำจิตศึกษา
ครูมัธยมเริ่มออกแบบจิตศึกษา


ครูช่วงชั้นที่2 ออกแบบจิตศึกษาพร้อมลงSite
ช่วงบ่าย นำเสนอแผนการสอน PBL

ก่อนจบกิจกรรม PBL planing คุณครูทุกท่านได้ AAR เขียนสิ่งคิดว่าทำได้ดีแล้ว และ สิ่งที่จะพัฒนาต่อ








**การติดตามแผนการสอน ทีม NNK Sisaket จะเข้าดู Site ในวันที่ 25 ต.ค.2559 และมีเป้าหมายว่าทุกชั้นสามารถนำแผนลงได้ครบทุกชั้น


หน่วย PBL โรงเรียนบ้านตะเคียนราม

หน่วย PBL โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ





PBL planing Q3/59 ณ โรงเรียนหนองอารีพิทยา

PBL planing Q3 ระหว่างวันที่ 11-12 ต.ค.2559

ออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชา PBL (วิชาบูรณาการ) ใน Quarter 3 ซึ่งได้จัดที่โรงเรียนหนองอารีพิทยา โดยโรงเรียนในโครงการงอกนอกกะลาอีก 2  โรงเรียนมาร่วมออกแบบด้วยกัน (โรงเรยนบ้านคลองเพชรสวาย และ โรงเรียนบ้านโนนดั่ง )
...ทีม NNK Sisaket ครูเสก ครูไก่ และครูยุ้ย ได้พาคุณครูร่วมออกแบบหน่วยการเรียนรู้ใหม่ ซึ่งคุณครูหลายๆท่านได้เตรียมหน่วยมาก่อนแล้ว เพื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนและออกแบบแผนไปด้วยกัน


จิตศึกษาเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ คุณครูวรวุฒิ



หลังจากที่คุณครูโรงเรียนบ้านตะเคียนราม ได้ไปเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นอกกะลา
เมื่อกลับมาคุณครูเริ่มนำมาใช้ทันที โดยวันนี้ได้มาสังเกตเพื่อและแนะนำเพิ่มเติมหลังจากเสร็จกิจกรรม




อบรมภาษาไทยผ่านวรรณกรรม (โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ)

การอบรมภาษาไทยผ่านวรรณกรรม ในระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2559




สร้างการเรียนรู้ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนบ้านตะเคียนราม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

ประเด็น คำถามในการเรียนรู้

1 .ใช้นวัตกรรม ตามลำปลายมาศพัฒนา จะผ่านมาตรฐานตัวชี้วัดตามหลักสูตรได้อย่างไร?
กระบวนการจัดการเรียนรู้ในหนึ่งปีการศึกษาจะแบ่งเป็น 4 Quarter และ Quarter ละหนึ่งหน่วยการเรียนรู้ ในหนึ่งหน่วยการเรียนรู้คุณครูจะต้องรู้ว่าเด็กๆอยากเรียนรู้เรื่องอะไร  แล้วคุณครูก็มาจัดชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นไล่เรียงชุดความรู้นั้นว่าเกี่ยวข้องกับมาตรฐานไหน ตัวชี้วัดไหน

           การเรียนรู้ในแต่ละหน่วย คุณครูก็จะมีชุดความรู้อยู่ชุดหนึ่ง คุณครูแต่ละชั้นก็จะต้องมีสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นคือครูต้องเตรียมไว้ว่า “เด็กๆควรเรียนรู้เรื่องอะไร  และเด็กๆต้องเรียนรู้เรื่องอะไร” เพื่อไม่ให้หลุดมาตรฐานตามหลักสูตรแกนกลาง แล้วคุณครูก็ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าโดยหน่วยการเรียนรู้นั้นจะนำปัญหาที่พบในปัจจุบันและปัญหาที่คิดว่าจะเกิดในอนาคต เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นใกล้ๆตัวและนำสิ่งที่มีในชุมชนมาสร้างการเรียนรู้ให้เด็กๆได้มีความสนใจมากขึ้น

ออกแบบหน่วยล่วงหน้า สิ่งที่เด็กควรรู้ และต้องรู้
วิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เข้ากับชุดความรู้ชุดนั้นๆ

หลังจจากที่คุณครูเรียบเรียงชุดความรู้ ไล่เรียงมาแล้วก็จะมาวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัดตามหลักสูตร โดยวิเคราะห์ตัวชี้วัดในชั้นและสามารถวิเคราะห์ในช่วงชั้นที่สูงกว่าได้ แล้วก็ต้องออกแบบว่าเขาจะต้องมีภาระงานชิ้นงานอะไรบ้าง เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะตามมาตรฐานและตัวชี้วัดอะไรบ้าง


ในแต่ละสัปดาห์ ก็จะมีภาระงานและชิ้นงานที่เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ 3 มาตรฐาน


หากถามว่าเป็นไปได้ไหมที่จะทำให้เด็กหลุดตัวชี้วัดบางตัว  “เป็นไปได้ครับ” แต่เราทำหลายโปรเจ็กค์ บางมาตรฐานถูกประเมินซ้ำๆ ผ่านหลายชิ้นงานด้วยกัน

2. จะไปสอบแข่งขัน หรือสอบโอเน็ตได้อย่างไร?

กระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ PBL นำโจทย์ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ ซึ่งคุณครูจะมีโจทย์ปัญหาและคำถามที่กระตุ้นการคิดที่แยบยลให้เด็กๆได้ฝึกกระบวนการคิดแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ปัญหาแล้วเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหานั้นๆ กระบวนการที่เรียนรู้แบบซ้ำๆจะทำให้เด็กๆไม่กลัวปัญหามองปัญหาเป็นโจทย์ที่ท้าทาย คิดวิเคราะห์แล้วแก้ปัญหาเป็น แล้วการสอบโอเน็ตนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นข้อสอบในแนวคิดวิเคราะห์ ซึ่งเชื่อได้ว่าเด็กๆจะไม่กลัวและอยากปะทะกับปัญหาดด้วยตนเองสามารถคิดวิเคราะห์และตอบคำถามได้แน่นอน


3.จะประเมินและตัดเกรดผู้เรียนได้อย่างไร?


เนื่องด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบนี้ไม่มีการสอบแข่งขันหรือสอบจัดลำดับผู้เรียนไม่มีสอบกลางภาค ปลายภาค การประเมินไม่สามารถที่จะวัดเด็กแต่ละคนจากคะแนนสอบได้เพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่งได้ การประเมินที่เราใช้นั้นจะประเมินตามสภาพจริงโดยผ่านชิ้นงานที่หลากหลายและระหว่างการปฏิบัติงาน การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งให้คะแนนผ่าน รูบริค score
 
********************************************

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

หลักสูตร "ห้องเรียนมัธยมคุณภาพด้วยจิตศึกษาและPBL"

โครงสร้างเวลาเรียนระดับมัธยม  NNK (งอกนอกกะลา) 










โปรแกรมอบรมห้องเรียนคุณภาพด้วยจิตศึกษาและPBL
Ø วัตถุประสงค์
1.     เพื่อสร้างห้องเรียนมัธยมศึกษาคุณภาพสำหรับโรงเรียนอื่นด้วยกิจกรรมจิตศึกษาและPBL
2.     เพื่อสร้างความเข้าใจและฝึกออกแบบกิจกรรมจิตศึกษา  เพื่อพัฒนาปัญญาภายใน และ PBL เพื่อพัฒนาปัญญาภายนอก ให้เกิดกับผู้เรียน
Ø เป้าหมาย
ü 80% ของคณะครูและบุคลากรที่เข้ารับการอบรม  สามารถออกแบบและวางแผนกิจกรรมจิตศึกษาได้ 
Ø กลุ่มเป้าหมาย
ü คณะครูและบุคลากรโรงเรียน...........................จำนวน................คน
Ø ระยะเวลาในการฝึกอบรม
ü หลักสูตร วัน  
Ø สถานที่ดำเนินการ
ü โรงเรียน/สำนัก......................





Ø ตารางกิจกรรม

วัน/เวลา
08.00-08.30 น.
08.30-09.00 น.
09.00-12.00 น.
12.00-13.00 น.
13.00-13.20 น.
13.20-16.30 น.
หมายเหตุ
DAY1
กิจกรรมหน้าเสาธง
สังเกตกิจกรรมจิตศึกษาในชั้นเรียน
·      AAR ( จากการสังเกตกิจกรรมจิตศึกษา)
·      แบ่งครูทั้งหมดเป็น กลุ่ม ( สาธิตกิจกรรมจิตศึกษาจากทีม Collective trainer และครูที่รับผิดชอบ)
พักรับประทานอาหารกลางวัน
Body Scan
·      สร้างความเข้าใจในการบวนทัศน์จิตศึกษา
·      แบ่งกลุ่มออกแบบกิจกรรมจิตศึกษา
·      AAR ( นำเสนอ/เพิ่มเติมกิจกรรม)

DAY2
ตัวแทนกลุ่มลงทำกิจกรรมจิตศึกษากับ นักเรียนแต่ละห้อง
·      AAR ( ภายหลังการลงกิจกรรม)
·      ออกแบบกิจกรรมจิตศึกษารายบุคคล
·      เลือกกิจกรรมที่ดีที่สุดกิจกรรม ร่วมแบ่งปัน Shopping Idea
·      AAR ( สิ่งที่ได้เรียนรู้)

DAY3
โยคะ (ทีม Collective trainer และครูที่รับผิดชอบ) 
·      AAR (กิจกรรมโยคะ)
·      รับชมวีดิโอ “ปัญหาการศึกษา”
·      AAR ( หลังชม)
·      ชม VDO “   การเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียน”
·      AAR ( สังเกตเห็นอะไร)
·      วิเคราะห์ตารางกิจกรรม
·      AAR ( สิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้ง วัน )

เดินทางกลับ..


แนวทางการประเมินการอบรม
ระหว่างการอบรม
v สังเกตความสนใจระหว่างร่วมกิจกรรม
ระยะติดตาม
v ทีม Collective trainer ติดตาม
v สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงภายนอก  เช่น  ชิ้นงาน  ความเป็นวิถี