หน้าเว็บ

เป้าหมายหลัก

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Conference : โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้
วันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน 2559  ณ โรงเรียนบ้านตะเคียนราม สพป.ศรีสะเกษ เขต 3
ต. ตะเคียนราม อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างพลังครูและผู้บริหารของโรงเรียนต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ (Model school) และโรงเรียนเครือข่าย ให้มีเวทีนำเสนอความสำเร็จในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับผู้เรียนในมิติของปัญญาภายในและ ปัญญาภายนอก
2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ PLN (Professional Learning Network) ของโรงเรียนต้นแบบ สู่การปฏิรูปการศึกษาของประเทศ
3.เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ให้ครูและสังคมได้เข้าใจบทบาทใหม่ของครูมืออาชีพที่จะพัฒนาทักษะ ความรู้ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้และจิตวิญญาณความเป็นครูในศตวรรษที่ 21

กลุ่มเป้าหมายโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
            1. ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนโครงการ “งอกนอกกะลา” จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่
1.1 โรงเรียนตะเคียนราม สพป. ศรีสะเกษ เขต 3                              จำนวน 38 คน
1.2 โรงเรียนโนนดั่ง สพป. ศรีสะเกษเขต 3                                      จำนวน  8 คน
1.3 เรียนบ้านคลองเพชรสวาย สพป. ศรีสะเกษ เขต 3                       จำนวน  5 คน
1.4 โรงเรียนหนองอารีพิทยา  สพป. ศรีสะเกษ เขต 3                        จำนวน 15 คน
1.5 โรงเรียนบ้านนาขนวน สพป.ศรีสะเกษ เขต 4                             จำนวน 15 คน
1.7  โรงเรียนบ้านปะทาย สพป.ศรีสะเกษ เขต 4                               จำนวน 20 คน
1.7 โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ สพป. ศรีสะเกษ เขต 3             จำนวน 16 คน       2. ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนที่สนใจจาก สพป. ศรีสะเกษ เขต 3             จำนวน 30 โรงเรียน
3. ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนที่สนใจจาก สพป. ศรีสะเกษ เขต 4                 จำนวน 15 โรงเรียน      4. ผู้บริหารและครูโรงเรียนเครือข่าย โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา                      จำนวน 10 โรงเรียน

                        รวมจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 62 โรงเรียน                   จำนวน  400 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เกิดเครือข่ายพัฒนาโรงเรียนต้นแบบในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับผู้เรียนในมิติของปัญญาภายในและปัญญาภายนอก
2. เกิดเครือข่ายการเรียนรู้และเกิดการรับรู้ เกี่ยวกับโรงเรียนต้นแบบในระดับประเทศ
3. โรงเรียนต้นแบบได้ขยายผลเพื่อสร้างโรงเรียนเครือข่ายการเรียนรู้ PLN (Professional Learning Network)

ระยะเวลาดำเนินงาน
วันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน 2559
คณะทำงานของโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้
คณะผู้บริหาร ครูและบุคลากรโครงการงอกนอกกะลา โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

กำหนดการ : โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (Node)
วันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน 2559 ณ โรงเรียนบ้านตะเคียนราม สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 

วันเสาร์ที่ 26 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เวลา
กิจกรรม
07.30-08.30น.
เยี่ยมชมวิถีโรงเรียนบ้านตะเคียนราม
08.00-08.30 น.
ลงทะเบียน
08.45-08.50น.
วีดีทัศน์ “เส้นทางการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (NNK)”
พิธีกร ครูศุภากร
09.00-10.15 น.
กล่าวเปิดงานและปาฐกถา  โดย นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
10.30-10.45น.
รับประทานอาหารว่างเช้า
10.45-12.00น.
เวทีเสวนา “การจัดการโรงเรียนเชิงระบบ”
1.     ผอ.สพป.ศก.เขต 3
2.     ผอ.สพป.ศก. เขต 4
3.     ผอ.สมศักดิ์  ประสาน
4.     ผอ.อำนวย  มีศรี
5.     ตัวแทนครู (ครูเกดแก้ว)
6.     ผู้ดำเนินรายการ ดร.ปิยาภรณ์  พุ่มแก้ว
12.00-12.40น.
รับประทานอาหารกลางวัน
12.40 – 13.00
Body scan /Brain Gym
13.00-15.00น.
ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ห้องปฏิบัติการที ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้บริหาร และนักการศึกษา (ผอ.สังคม ผอ.สุรพงษ์ ผอ.ประกอบ ผอ.สร้อยทิพย์ ผอ.รัตนา)
ห้องปฏิบัติการที่ 2 ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ปกครอง (ครูมาลา ครูสริตา ครูอาทิตย์)
กิจกรรม Workshop แบ่งตามห้องปฏิบัติการ ได้แก่
ห้องปฏิบัติการที่ 3 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายในด้วย จิตศึกษา” (อนุบาล - ป.1)
(ครูจุฬารัตน์ ครูสุดา ครูทรรศนีย์ ครูโนนดั่ง)
ห้องปฏิบัติการที่ 4 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายในด้วย จิตศึกษา” (ป.2-ป.6)
(ครูศุภากร ครูเกดแก้ว ครูปริยชาต ครูโนนดั่ง ครูสุนทร)
ห้องปฏิบัติการที่ 5 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายในด้วย จิตศึกษา” (ม.1-ม.3)
(ครูศนิษา ครูลัดดา ครูปัจจุปกร)
ห้องปฏิบัติการที่ 6 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายนอกด้วย “PBL” (อนุบาล)
(ครูวิภาวี ครูโสพิศ ครูสุวรรณา ครูสุรัตนา)
ห้องปฏิบัติการที่ 7 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายนอกด้วย “PBL” (ประถมศึกษา)
(ครูประเสริฐ ครูกัญญาภัค ครูอุรวี ครูวิจิตรา)
ห้องปฏิบัติการที่ 8 การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญาภายนอกด้วย “PBL” (มัธยมศึกษา)
(ครูเสก ครูนาวิท ครูวรวุฒิ ครูภัทรวดี ครูวาริกา)
ห้องปฏิบัติการที่ 9 การออกแบบการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรม (ประถมศึกษา)
(ครูปรีญานันท์ ครูตรีทิพย์ ครูวัชราภรณ์ ครูจิรัชยา)
ห้องปฏิบัติการที่ 10 การออกแบบการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรม (มัธยมศึกษา)
(ครูกิติยา ครูอรทัย ครูณัฐพร)
ห้องปฏิบัติการที่ 11 การออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดขั้นสูง (อนุบาล - ป.3) ครูเพ็ญประไพ  ครูทิพวรรณ ครูรจิรา ครูธวัลรัตน์
ห้องปฏิบัติการที่ 12 การออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดขั้นสูง
 ( ป.4-6) ครูสายฝน ครูวิลาวัลย์ ครูจันทราภรณ์ ครูพิศมัย 
ห้องปฏิบัติการที่ 13 การออกแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ แอพลิเคชัน
ครูดนิตา ครูธีรดา ครูกมลวรรณ ครูศิริวรรณ์
ห้องปฏิบัติการที่ 14 การออกแบบการเรียนรู้จิตศึกษาสำหรับองค์กร 
15.00–16.00 น.
AAR สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ (ภายในห้องที่เข้าร่วมกิจกรรม)



วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

PLC เตรียมงาน Conference : 12 พฤศจิกานยน 2559

วันที่ 12  พฤศจิกานยน 2559

โรงเรียนในโครงการงอกนอกกะลา ได้นัดคุยกันเตรียมงาน Conference ในวันที่ 26 พฤศจิกายน เพื่อเตรียมการต้อนรับผู้มาร่วมงานจากหลายโรงเรียน หลายจังหวัด โดยใช้ห้องนาฎศิลป์ โรงเรียนบ้านตะเคียนราม ในการแลกเปลี่ยนและออกแบบกิจกรรมร่วมกัน

ขอบคุณผู้บริหารและคณะคุณครูจากทุกโรงเรียน
#งอกนอกกะลาจังหวัดศรีสะเกษ
  1. โรงเรียนบ้านตะเคียนราม  สพป.ศก 3
  2. โรงเรียนบ้านคลองเพชรสวาย   สพป.ศก 3
  3. โรงเรียนบ้านปะทาย   สพป.ศก 4
  4. โรงเรียนบ้านนาขนวน   สพป.ศก 4
  5. โรงเรียนหนองอารีพิทยา   สพป.ศก 3
  6. โรงเรียนบ้านโนนดั่ง     สพป.ศก 3
  7. โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ     สพป.ศก 3