หน้าเว็บ

เป้าหมายหลัก

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

ประเด็น คำถามในการเรียนรู้

1 .ใช้นวัตกรรม ตามลำปลายมาศพัฒนา จะผ่านมาตรฐานตัวชี้วัดตามหลักสูตรได้อย่างไร?
กระบวนการจัดการเรียนรู้ในหนึ่งปีการศึกษาจะแบ่งเป็น 4 Quarter และ Quarter ละหนึ่งหน่วยการเรียนรู้ ในหนึ่งหน่วยการเรียนรู้คุณครูจะต้องรู้ว่าเด็กๆอยากเรียนรู้เรื่องอะไร  แล้วคุณครูก็มาจัดชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นไล่เรียงชุดความรู้นั้นว่าเกี่ยวข้องกับมาตรฐานไหน ตัวชี้วัดไหน

           การเรียนรู้ในแต่ละหน่วย คุณครูก็จะมีชุดความรู้อยู่ชุดหนึ่ง คุณครูแต่ละชั้นก็จะต้องมีสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นคือครูต้องเตรียมไว้ว่า “เด็กๆควรเรียนรู้เรื่องอะไร  และเด็กๆต้องเรียนรู้เรื่องอะไร” เพื่อไม่ให้หลุดมาตรฐานตามหลักสูตรแกนกลาง แล้วคุณครูก็ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าโดยหน่วยการเรียนรู้นั้นจะนำปัญหาที่พบในปัจจุบันและปัญหาที่คิดว่าจะเกิดในอนาคต เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นใกล้ๆตัวและนำสิ่งที่มีในชุมชนมาสร้างการเรียนรู้ให้เด็กๆได้มีความสนใจมากขึ้น

ออกแบบหน่วยล่วงหน้า สิ่งที่เด็กควรรู้ และต้องรู้
วิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เข้ากับชุดความรู้ชุดนั้นๆ

หลังจจากที่คุณครูเรียบเรียงชุดความรู้ ไล่เรียงมาแล้วก็จะมาวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัดตามหลักสูตร โดยวิเคราะห์ตัวชี้วัดในชั้นและสามารถวิเคราะห์ในช่วงชั้นที่สูงกว่าได้ แล้วก็ต้องออกแบบว่าเขาจะต้องมีภาระงานชิ้นงานอะไรบ้าง เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะตามมาตรฐานและตัวชี้วัดอะไรบ้าง


ในแต่ละสัปดาห์ ก็จะมีภาระงานและชิ้นงานที่เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ 3 มาตรฐาน


หากถามว่าเป็นไปได้ไหมที่จะทำให้เด็กหลุดตัวชี้วัดบางตัว  “เป็นไปได้ครับ” แต่เราทำหลายโปรเจ็กค์ บางมาตรฐานถูกประเมินซ้ำๆ ผ่านหลายชิ้นงานด้วยกัน

2. จะไปสอบแข่งขัน หรือสอบโอเน็ตได้อย่างไร?

กระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ PBL นำโจทย์ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ ซึ่งคุณครูจะมีโจทย์ปัญหาและคำถามที่กระตุ้นการคิดที่แยบยลให้เด็กๆได้ฝึกกระบวนการคิดแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ปัญหาแล้วเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหานั้นๆ กระบวนการที่เรียนรู้แบบซ้ำๆจะทำให้เด็กๆไม่กลัวปัญหามองปัญหาเป็นโจทย์ที่ท้าทาย คิดวิเคราะห์แล้วแก้ปัญหาเป็น แล้วการสอบโอเน็ตนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นข้อสอบในแนวคิดวิเคราะห์ ซึ่งเชื่อได้ว่าเด็กๆจะไม่กลัวและอยากปะทะกับปัญหาดด้วยตนเองสามารถคิดวิเคราะห์และตอบคำถามได้แน่นอน


3.จะประเมินและตัดเกรดผู้เรียนได้อย่างไร?


เนื่องด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบนี้ไม่มีการสอบแข่งขันหรือสอบจัดลำดับผู้เรียนไม่มีสอบกลางภาค ปลายภาค การประเมินไม่สามารถที่จะวัดเด็กแต่ละคนจากคะแนนสอบได้เพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่งได้ การประเมินที่เราใช้นั้นจะประเมินตามสภาพจริงโดยผ่านชิ้นงานที่หลากหลายและระหว่างการปฏิบัติงาน การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งให้คะแนนผ่าน รูบริค score
 
********************************************

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

หลักสูตร "ห้องเรียนมัธยมคุณภาพด้วยจิตศึกษาและPBL"

โครงสร้างเวลาเรียนระดับมัธยม  NNK (งอกนอกกะลา) 










โปรแกรมอบรมห้องเรียนคุณภาพด้วยจิตศึกษาและPBL
Ø วัตถุประสงค์
1.     เพื่อสร้างห้องเรียนมัธยมศึกษาคุณภาพสำหรับโรงเรียนอื่นด้วยกิจกรรมจิตศึกษาและPBL
2.     เพื่อสร้างความเข้าใจและฝึกออกแบบกิจกรรมจิตศึกษา  เพื่อพัฒนาปัญญาภายใน และ PBL เพื่อพัฒนาปัญญาภายนอก ให้เกิดกับผู้เรียน
Ø เป้าหมาย
ü 80% ของคณะครูและบุคลากรที่เข้ารับการอบรม  สามารถออกแบบและวางแผนกิจกรรมจิตศึกษาได้ 
Ø กลุ่มเป้าหมาย
ü คณะครูและบุคลากรโรงเรียน...........................จำนวน................คน
Ø ระยะเวลาในการฝึกอบรม
ü หลักสูตร วัน  
Ø สถานที่ดำเนินการ
ü โรงเรียน/สำนัก......................





Ø ตารางกิจกรรม

วัน/เวลา
08.00-08.30 น.
08.30-09.00 น.
09.00-12.00 น.
12.00-13.00 น.
13.00-13.20 น.
13.20-16.30 น.
หมายเหตุ
DAY1
กิจกรรมหน้าเสาธง
สังเกตกิจกรรมจิตศึกษาในชั้นเรียน
·      AAR ( จากการสังเกตกิจกรรมจิตศึกษา)
·      แบ่งครูทั้งหมดเป็น กลุ่ม ( สาธิตกิจกรรมจิตศึกษาจากทีม Collective trainer และครูที่รับผิดชอบ)
พักรับประทานอาหารกลางวัน
Body Scan
·      สร้างความเข้าใจในการบวนทัศน์จิตศึกษา
·      แบ่งกลุ่มออกแบบกิจกรรมจิตศึกษา
·      AAR ( นำเสนอ/เพิ่มเติมกิจกรรม)

DAY2
ตัวแทนกลุ่มลงทำกิจกรรมจิตศึกษากับ นักเรียนแต่ละห้อง
·      AAR ( ภายหลังการลงกิจกรรม)
·      ออกแบบกิจกรรมจิตศึกษารายบุคคล
·      เลือกกิจกรรมที่ดีที่สุดกิจกรรม ร่วมแบ่งปัน Shopping Idea
·      AAR ( สิ่งที่ได้เรียนรู้)

DAY3
โยคะ (ทีม Collective trainer และครูที่รับผิดชอบ) 
·      AAR (กิจกรรมโยคะ)
·      รับชมวีดิโอ “ปัญหาการศึกษา”
·      AAR ( หลังชม)
·      ชม VDO “   การเรียนรู้แบบบูรณาการของโรงเรียน”
·      AAR ( สังเกตเห็นอะไร)
·      วิเคราะห์ตารางกิจกรรม
·      AAR ( สิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้ง วัน )

เดินทางกลับ..


แนวทางการประเมินการอบรม
ระหว่างการอบรม
v สังเกตความสนใจระหว่างร่วมกิจกรรม
ระยะติดตาม
v ทีม Collective trainer ติดตาม
v สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงภายนอก  เช่น  ชิ้นงาน  ความเป็นวิถี




Lesson study : ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม ชั้นป.4/2 โรงเรียนบ้านตะเคียนราม

เมื่อคุณครูหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาจิตวิญญาณ พัฒนาปัญญาภายในที่เชื่อมโยงกับศาสตร์วิชาภาษาไทย พัฒนากระบวนการสอนของคุณครูเองเพื่อนำสู่ตัวผู้เรียน โดยนำวรรณกรรมและนิทานมาจัดกระบวนการเรียนรู้ แทนการสอนตามหนังสือ _/ เพราะคุณครูเชื่อว่า"จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ต้องเริ่มจากภายในของผู้เรียน"

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

เดินป่า เดินออก "จากความคิด"




เรียนรู้อย่างมีความหมายกับกลุ่ม Colective trainer

...เราตื่นกันตั้งแต่เช้า บรรยากาศท้องฟ้ายังมืดที่อีกไม่กี่อึดใจก็จะมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ส่องออกมาเพื่อให้แสงสว่างกับสรรพสิ่ง เราค่อยๆทยอยกันมารวมกลุ่มที่บริเวณก้อนหินที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนนอกกะลา ซึ่งไม่ว่าใครที่ผ่านเข้ามาก็อยากจะเก็บภาพตนเองและกลุ่มคณะเพื่อบอกตำแหน่งเผยแพร่ให้สาธาณะชนได้เห็น มีข้อความประโยคหนึ่งที่ดูเหมือนไม่มีอะไรแต่เมื่ออ่านก็ทำให้คิด "คิดอะไรหล่ะ..!" ต้องมีแน่แหล่ะครับ.

เราเริ่มเดินทางไปยังป่าโคกหีบซ่งมีแสงสว่างพอมองเห็นทาง แต่บริเวณหน้าโรงเรียนตามแนวถนนยังมีไฟตามแนวถนนและมีรถวิ่งผ่านไปมา
"ระวังรถด้วยนะครับ"   ผมบอกตัวเองในใจ


เดินทางผ่านทุ่งนาที่มีสีเขียว เห็นน้ำริมคันนาทำให้นึกถึงตอนประถมปลาย ที่บรรยากาศคล้ายๆตอนนนี้
"คือตั้งเล่าไปถึงเมื่อตอนเย็น"...ใช่แล้ว   ช่วงเย็นเราในกลุ่มสี่ถึงห้าคน ไปหาขุดไส้เดือน ซึ่งจะต้องใช่สัญชาตญาณที่มีว่าบริเวณไหนที่พอจะให้เราได้ขุด  อุปกรณ์ที่เรานำมาใส่นั้นนั้นใช้วัสดุที่เหลือใช้แล้วคือขวดน้ำอัดลมตัดออกครึ่งหนึ่งแล้วเจาะเพื่อใส่เชือกผูกคล้องกับเอวของตนเอง ผมมีคันเบ็ดประมาณ ห้าสิบคัน (ซึ่งถือว่าเยอะมากสำหรับเด็กชายตัวเล็กๆ)  เรานำไปปักข้างๆคันนา ห่างกันประมาณทีละห้าเมตรอยู่ที่บริเวณนั้นด้วย เพื่อนแต่ละคนอยู่ไม่ห่างกันมากหรอกครับ เพราะว่า ณ เพลานั้น ! เวลานั้นจะเงียบ  เมื่อความเงียบเข้ามาความกลัวก็จะบังเกิด เมื่อรุ้สึกเงียบผมจะทำเป็นตะโกนเรียกคนนั้นที คนนี้ที "ผมคิดว่าเพื่อนๆก็คงอยากจะคุยอะไรกับผมบ้างเช่นกัน"
     ประมาณสองทุ่มเราก็พากันสะพายหม้อแบตเตอรี่ส่องกบซึ่งต้องชาร์ทไว้ทั้งวัน เพื่อเติมพลังให้มีไฟใช้ได้นานๆ ระหว่างเดินต้องระวังนิดหนึ่งเพราะว่าหม้อแบตเป็นแบบเติมน้ำกรด หลายคนเคยโดนจนต้องทิ้งเสื้อผ้าที่ใส่ "แต่ผมไม่รู้สึกกลัวหรอก  เพราะไม่ได้คิดอะไรนอกจากคันเบ็ดจะติดปลาสักตัวสองตัวกลับบ้านเพื่อให้แม่ต้มปลาแสนอร่อยให้เรากินเป้นกับข้าวก่อนไปโรงเรียนตอนเช้า แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใส่เบ็ดในช่วงวันหยุดมากกว่า"  แล้วตอนเช้าเราก็ไปเก็บเบ็ดที่ใส่ไว้กลับบ้านพร้อมกับปลาตัวเล็กตัวใหญ่ แต่ความรู้สึกตอนนั้นแค่มีปลาติดมาสักตัวก็ดีใจอารมณ์ดีได้ทั้งวันแหล่ะครับ


...ในช่วงที่เดินป่าได้อยู่กับธรรมชาติ ต้นไม้เขียวขจี ส่วนใหญ่เคยเห็นในป่าแถวบ้านเรา ระหว่างทางมีส่วนมันของชาวบ้านที่ปลูกไม้กำลังเจริญเติมโตตามกาลเวลาของมัน เส้นทางในป่ามีหลายแยกมาก หากเดินมาคนเดียวหรือไม่รู้จักทางคงหลงทางอยู่ในนั้นแน่ๆเลย  ระหว่างเดินนั้นหลายคนก็รู้สึกดีในการชมธรรมชาติ ส่วนคุณครูแม่ๆของเราของตามประสาของท่าน  ปวดขาบ้าง หมดแรงบ้าง แต่ทุกคนก็ยังอารมณ์ดีพูดหยอกล้อกันไป  ส่วนผมเหรอ...จริงจังกับการถ่ายภาพ สนุกกับการกดบันทึกภาพทั้งธรรมชาติตรงนั้นและกลุ่มคุณครูที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน และสิ้นสุดตรงบริเวณที่มีลักษณะที่เป็นเหมือนปราสาทในสมัยก่อน และคงเป็นที่เก็บหีบที่เป็นที่มาของป่าแห่งนี้ รู้สึกมีมนต์ขลังบางอย่างตรงนั้น ระหว่างเดินทางกลับโรงเรียนคุณครูแม่ดวงและกลุ่มคุณครูที่เดินมาทีหลังของเราสนุกกับการเก็บเห็ดถือมาคนละนิดคนละหน่อย ถ้าเป็นผมก็คงดูไม่ออกว่าเห็ดกินได้หรือเปล่า

: ประสบการณ์นี้สนุกสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมีเรื่องเล่าคุยสนุกสนานทั้งระหว่างเดินทางและหลังจากที่กลับมาก็สนุกกับการเล่าให้เพื่อนๆที่ไม่ได้ไปฟัง โดยเฉพาะผมเองก็เช่นกัน







อบรมเชิงปฏิบัติการ"โรงเรียนมัธยม" สพป.ศก 3

กําหนดการ วันที่ ..2559
เวลา
รายละเอียด
ผู้รับผิดชอบ
อุปกรณ์
07:30 - 08:30 .
ลงทะเบียน
ครูปรียนุช,ครูจิ๋ว
08:30 - 09:00
ชม VTRการเตรียมก่อนเปิดภาคเรียน Lesson study ( 4 ระดับ )
ครูยะ,รองฯ,ครูจงเจริญ
09:00 - 10:00 .
Check in โดยใช้ Brain Gymพิธีเปิด/บรรยายพิเศษเรื่องจุดเน้นและ
เป้าหมายของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดย นางเยาวลักษณ์ คงพูล
TKR Teacher ผอ.สพป.ศก.3
10:00 - 10:15 .
พักรับประทานอาหารว่าง
ครูปรียนุช,ครูจิ๋ว
10:15 -11:15 .
  • -  Check in โดยใช้ Brain Gym 
  • -  แบ่งกลุ่ม6กลุ่มเรียนรู้จิตศึกษา 
    ธรรมชาติศึกษา- Home
    ดนตรีดลใจเชื่อมโยงกลุ่มสาระ
    โยคะ 
  • เรื่องเล่า
  • -  S&Lกระตุ้นด้วยเครื่องมือคิดเห็น 
    อะไร ,รู้สึกอย่างไรได้เรียนรู้อะไร” 
  • -  เขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้ใช้เครื่องมือคิดRuond 
    table 
TKR Teacher
ครูวรวุฒิ,ครูเปิ้ล,รอง 
ครูเพ็ญ,ครูไก่ ครูกุ้ง,ครูยะ,ครูอาทิต ครูปู,ครูปิ๋ว,
ครูวิ ,ครูดวง,ครูนิด ครูไม้,ครูฝน,ครูหงษ์
11:15 - 12:00
รวมกลุ่มใหญ่Share & Learn สิ่งที่ได้เรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม ใช้ เครื่องมือคิด Show and Share
ครูเพ็ญ ,ครูปู
12:00 - 13:00 .
รับประทานอาหารเที่ยง
13:00 - 13:30 .
Body scan แบบนั่ง(20 .) กลุ่มใหญ่
TKR Teacher
13:30 - 14:30 .
กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะใน ศตวรรษที่ 21
ผอ.สมศักดิ์ประสาร ผอ.สังคมอินทร์ขาว
14:30 - 14:45 .
พักรับประทานอาหารว่าง
14:45 -16:00 .
AARสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งวันความประทับ ใจ,สิ่งที่จะนําไปปรับใช้
นําเสนอโรงเรียนรับสมัครอบรมจิตศึกษา โรงเรียนที่สนใจ
ผอ.อํานวย มีศรี - TKR Teacher


ทักทายยามเช้า ลงทะเบียน ทำความรู้จักครับ


Check in ด้วย Brain gym


แบ่งกลุ่มเข้าเรียนรู้จิตศึกษา ทั้ง 6 ฐาน

จิตศึกษา ธรรมชาติ
"คุรครูวรวุฒิ,คุณครูเปิ้ล,รองฯเกียร์ติณรงค์"



จิตศึกษาเชื่อมโยงกลุ่มสาระ
  "คุณครูปู, คุณครูป๋ว


จิตศึกษาโยคะ  
"คุณครูไม้,คุณครูฝน,คุณครูสุดา,ครูหงษ์"



จิตศึกษาผ่านเรื่องเล่า 
"คุณครูดวง,คุณครูจิ๋ว"


จิตศึกษา Home  
"คุณครูเพ็ญ,คุณครูไก่"





*****************************************


AAR :แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน








ในภาคบ่ายเข้าสู่เวทีสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้