หน้าเว็บ

เป้าหมายหลัก

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

ธรรมชาตินิยม


ธรรมชาตินิยม อาจนิยามตามที่ถือกันทั่วไปว่า ได้แก่ความเชื่อที่ว่า ทุกสิ่งและเหตุการณ์ทั้งหลายนั้นมีมูลเหตุมาจากธรรมชาติ มากกว่าสิ่งเหนือธรรมชาติ จักรวาลมีเหตุกำเนิดมาจากธรรมชาติ มากกว่าภาวะเหนือธรรมชาติ มนุษย์มีจุดหมายตามธรรมชาติมากกว่าสิ่งเหนือธรรมชาติ


ธรรมชาตินิยม คือ ทฤษฎีที่ว่าด้วยสิ่งทั้งหลายในโลกที่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับโลกอื่น เช่น ธรรมชาตินิยมของนักปรัชญาของจีน คือ ปรัชญาของขงจื๊อ ขงจื๊อเกลียดคำอธิบายแบบเหนือธรรมชาติทุกแบบ และปัญหาที่สนใจพิเศษคือ ธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ในขณะเดียวกัน เราจะเห็นว่า วิธีการตอบปัญหาของอาริสโตเติล ก็เป็นธรรมชาตินิยม ถึงแม้ว่าอาริสโตเติลจะเชื่อถือพระเจ้า ซึ่งแตกต่างกับโลกก็ตาม เวลาอธิบายสิ่งทั้งหลายก็ไม่ได้อ้างถึงโลกอื่นเลย ซึ่งแตกต่างกับเพลโตที่อ้างโลกอื่น คือ เพลโตถือว่า คำอธิบายสิ่งทั้งหลาย ที่ถูกต้องที่สุดนั้น มีอยู่ในโลกของสวรรค์ คือโลกแห่งมโนคติ 


อาริสโตเติลวิจารณ์หลักคำสอนเรื่อง โลกในอุดมคติ ของเพลโตว่า ไม่จำเป็นต้องสร้างโลกอื่นขึ้นมาเพื่ออธิบายโลกนี้ ข้อวิจารณ์นี้จัดได้เป็นแบบเจตคติทางธรรมชาตินิยม


ธรรมชาตินิยมที่ใช้ในความหมายแคบๆ หมายถึง วิธีการเข้าสู่ปรัชญาวิธีหนึ่ง ซึ่งพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกา หลังจากพวกปฏิบัตินิยม (pragmatists) มีอิทธิพลกว้างกวาง ปรัชญาที่สอนกันในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา จนถึงสิ้นศตวรรษแล้ว โดยทั่วไปเป็นปรัชญาจิตนิยม นักปรัชญาบางท่าน มี ชาร์ลเพียร์ซวิลเลียมเจมส์ และจอห์น ดิวอี้ เป็นต้น ได้แสดงปฏิกิริยาต่ออภิปรัชญาจิตนิยม และโลกทรรศน์ในแนวกว้าง ไปสนใจค้นคว้าวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ และวิธีการแก้ปัญหาทางศีลธรรมและสังคมกันมากขึ้น แต่ ประสบการณ์นิยมรุ่นใหม่ ก็ต้องการจุดยืนทางอภิปรัชญา เกี่ยวกับปัญหาธรรมชาติ กับเหนือธรรมชาติ โดยทั่วไปนักประสบการณ์นิยมจะประกาศว่า ตัวเองเป็นฝ่ายธรรมชาติ


ซันตายานา (George Santayana) ช่วยทำให้คำว่า ธรรมชาตินิยม เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย แม้ว่า ท่านเองจะไม่สนใจทั้งในด้านประสบการณ์นิยม และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ท่านถือว่า ทรรศนะเกี่ยวกับโลกนี้เข้ากันได้กับอุดมคติเหตุผลและภาวะของสสาร ของนักปรัชญากรีก



สรุปว่า ธรรมชาตินิยมแยกกันเด็ดขาดกับเทวนิยมปรัชญาเทวนิยมสอนว่า พระเป็นเจ้ามีอยู่จริง พระเป็นเจ้าเป็นสัตอย่างหนึ่ง แต่ธรรมชาตินิยมสอนว่า ไม่มีพระเป็นเจ้า ไม่มีระเบียบเหนือธรรมชาติ ไม่มีทวิภาคระหว่างพระเป็นเจ้ากับโลกอย่างไรก็ตาม ยังมีธรรมชาตินิยมบางลัทธิเข้ากันได้กับหลักคำสอนที่ถือว่าพระเป็นเจ้าเป็นอุดมคติอย่างหนึ่ง อุดมคตินี้อาจมีอิทธิพลเหนือชีวิตมนุษย์ผู้ปรารถนาแสวงหาความดี



http://bubeeja.blogspot.com/2013/08/naturalism.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น